วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning log 6
Wednesday 18 September 2019


      วันนี้เป็นการนำเสนอการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาโดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอนตามที่ตัวเองได้รับมอบหมายไว้ ดังต่อไปนี้

1.การจัดการเรียนรู้แบบ ไฮสโคป (High Scope)

การเรียนรู้แบบไฮสโคปตอบโจทย์เด็กรุ่นใหม่ โดย ดร.วรนาท รักสกุลไทย

ไฮสโคป (High Scope) คือ เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง

แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)  ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง


จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope)

   การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ในเมื่อหลักการของแนวนี้คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็จำเป็นต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการลื่นไหลของกิจกรรม และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น

1. พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
2. วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
3. การจัดเก็บ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ

2.การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ Project Approach

ปฐมวัย Project Approach การสอนแบบโครงการ โดย DLIT PLC

     การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก
ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

Project Approach คืออะไร ?
     
     เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เด็กรูปแบบหนึ่งที่ให้โอกาสเด็กเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและความรู้ใหม่ๆ ตั้งคำถามในสิ่งที่ยังต้องการเรียนรู้หาคำตอบ รวมทั้งดำเนินการวางแผนสำรวจ สืบค้น บันทึก คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและความรู้ต่างๆ เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่หลากหลายวิธี และสุดท้ายครูและเด็กร่วมกันสรุปเรียบเรียงขั้นตอนการเรีนรู้และสิ่งที่เรียนรู้ออกมาเป็นชิ้นงานและนิทรรศการ
     Project Approach เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ Brian-Based Learning อย่างมาก และเหมาะสมกับการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองไปตลอดชีวิต การสืบค้นกับความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเด็กทำให้การเรียนรู้มีความหมายต่อเด็กมาก  การเรียนรู้สามารถเรียนรู้และดำเนินการไปแบบการบรูณาการหลักวิชาและทักษะทางวิชาการต่างๆ และยังทำให้เด็กได้ใช้สมองซีกซ้ายขวาร่วมกันอีกด้วย เช่น การสังเกต คิดวิเคราะห์ หารเหตุผลทำไมถึงเป็นอย่างงั้ลอย่างนี้

การเรียนรู้แบบ Project Approach นี้เป็นออกเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะจะประกอบด้วยการเรียนรู้ 5 รูปแบบ ดังนี้ 

Project Approach ระยะที่ 1-เริ่มต้น 

  • เด็กเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยให้คุณครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
  • เด็กอ๓ิปรายหรือพุดคุยว่ามีความรู้เดิมของเด้กคืออะไร โดยเป็นเรื่องที่เรีนแล้วบ้าง ครูช่วยบันทึกความคิดเห็นของเด็ก
  • เด็กบอกสิ่งที่เด้กเรียนรู้ ครูช่วยสรุปตั้งคำถาม
  • เด็กพูดคุยหาคำตอบ 
  • เด็กช่วยกันคิดหาคำตอบให้กับคำถาม 
Project Approach ระยะที่ 2-การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
  • ครูช่วยเด็กวางแผนสืบค้นเพื่อเรียนรู็จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
  • เด็กใช้ของจริง /ภาพ / สิ่งพิมพ์ / หนังสือหรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในการสืบค้นของมูลโดยให้คุณครูคอยช่วยเหลือ
  • ระหว่างการทำกิจกรรมเด็กสามารถประชุมร่วมกันและนำเสนอรายงานสิ่งที่เด้กค้นคว้า คุณครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กตั้งคำถามและให้ความคิดเห็น
  • เด็กวาดภาพ 
  • ใช้ช่วงเวลาของการรวรวมข้อมูลนี้ เด็กควรใช้ทักษะต่างๆที่หลากหลาย
Project Approach ระยะที่ 3-การสรุป Project Approach 
  • เด็กอภิปรายถึงหลักฐานต่างๆที่ได้สืบค้น
  • เด็กช่วยกันวางแผนจัดการแสดงให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเพื่อนในห้องเรียน
  • เด็กช่วยกันจัดแสดงแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ Project Approach 
3.การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา STEM 

STEM กิจกรรมแพบรรทุกไข่มังกร 

    สะเต็มศึกษา คืออะไร ? 

    “สะเต็ม” หรือ “STEM”  เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์  4 สาขาวิชา  ได้แก่  

วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรมศาสตร์  (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น   เป็นกระบวนการเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์  ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงานจากการคิดค้น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ มีแนวคิดหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  5 ข้อ คือ
         1. ครูต้องเน้นการบูรณาการ
         2. ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่เรียนกับที่ได้เรียนไปแล้ว
         3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
         4. ท้าทายความคิดของผู้เรียน
         5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและทำความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อที่เรียน

วิทยาศาสตร์
ตัวอักษรตัวแรกของ STEM คือ S มาจากคำว่า Science หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสาระที่ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว มีแนวทางจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. โดยปกติเด็กอนุบาลมักจะมีความช่างสงสัย มีคำถามตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่สำหรับเด็กอนุบาล เราไม่ได้เน้นว่าเด็กต้องรู้สิ่งรอบตัวทุกชนิด ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ
2. สิ่งที่ต้องการ คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือทักษะการสังเกต สำรวจ ทดลอง คาดคะเน ตั้งสมมติฐาน การค้นพบ การสืบค้น เป็นต้น
3. บทบาทของวิทยาศาสตร์ในSTEMยังมีส่วนในการช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีทักษะที่สำคัญในการสืบค้นข้อมูลความรู้ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและตรวจสอบได้

เทคโนโลยี
ตัวอักษรตัวที่สอง คือ T มาจากคำว่า Technology หรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทักษะการใช้เครื่องมือต่างๆ การสร้าง การคิด มีแนวทางจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. การให้เด็กอนุบาลตัด ติด ต่อกระดาษให้เป็นรูปทรงที่ต้องการและเกิดขึ้นได้ก็ล้วนเป็นเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์
2. บทบาทของเทคโนโลยีในสะเต็มศึกษานี้จะพัฒนาให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด แก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
3. นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนานิสัยความรอบคอบ ความเพียร ไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรม

วิศวกรรมศาสตร์
ตัวอักษรตัวที่สามคือ E มาจากคำว่า Engineering หรือวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวทางจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. วิศวกรรมในที่นี้หมายถึงการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา
2. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมาประยุกต์ เช่น ไม้บล็อก เศษวัสดุเหลือใช้ มาออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานภายใต้เงื่อนไขที่ครูกำหนดขึ้น หรือสิ่งที่เด็กอยากทำ
3. บทบาทของวิศวกรรมศาสตร์ในสะเต็มศึกษานี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา การคิดเป็นเหตุเป็นผล การคิดเป็นระบบ
4. เป็นการฝึกนิสัยความเพียร ความรอบคอบ

คณิตศาสตร์
ตัวอักษรตัวสุดท้าย คือ M มาจาก Mathematics หรือคณิตศาสตร์ มีแนวทางจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. เป็นเรื่องเกี่ยวกับชั่ง ตวง วัด จำนวน รูปร่าง รูปทรง เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
2. บทบาทของคณิตศาสตร์ในสะเต็มศึกษานี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การคิดเป็นเหตุเป็นผล
3.พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน :เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมมานำเสนอ

ประเมินอาจารย์ :ให้คำแนะนำและปรับเปลี่ยนในแต่ละกิจกรรม อธิบายอย่างละเอียดทำให้นักศึกษาเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนและปรับแก้มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น