วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning log 13
Thursday 28 November 2019 


วันนี้ได้ออกไปนำเสนอแผนเสริมประสบการณ์ของเด็กอนุบาลในหน่วยอาหารดีมีประโยชน์ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำมาจากวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยเริ่มแรก
ขั้นนำ
1.คุณครูอ่านเนื้อเพลง อาหารดีให้เด็กฟัง 1 รอบ
2.คุณครูอ่านเป็นบรรทัดและให้เด็กอ่านตาม
3.คุณครูร้องเพลงอาหารดีเป็นบรรทัดและให้เด็กร้องตาม
4.คุณครูและเด็กร้องเพลงอาหารดีพร้อมกัน
5.คุณครูถามเด็กว่า ในเพลงอาหารดีมีอะไรบ้าง เช่น อาหารสุกสุก ผักสะอาด ไม่พลาดที่จะกินอิ่ม
6.คุณครูถามเด็กว่า เมื่อเช้าก่อนมาโรงเรียนเด็กรับประทานอาหารอะไรมา และคุณครูพูดอาหารดี


ขั้นสอน
1.ให้เด็กดูภาพการเจริญเติบโตของร่างกายและถามเด็กว่า ทำไมเด็กจากตัวเล็กๆถึงค่อยโตขึ้นคะ ?
จากนั้นนำเข้าสู่การสอนโดย คุณครูถามเด็กว่า อาหารหมู่ไหนนะที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต เด็กๆตอบ
หมู่ไหนนะที่ทำให้ร่างกายเราอบอุ่น เด็กตอบ ทำวนไปเรื่อยๆจนครบหมู่
2.จากนั้นให้เด็กออกมาแยกประเภทของสลัดผักที่คุณครูนำมา
3.ร่วมกันสนทนาถึงอาหารหลัก 5 หมู่
4.สรุปว่า สลัดจานนนี้นั้นมีประโยชน์ เด็กๆควรทานอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่และอาหารที่เป็นหลัก 5 หมู่นั้นต้องเป็นอาหารที่ สุก สุก สะอาด ที่สำคัญเด็กๆอย่างพวกเราทานอิ่มด้วย


                                               

ประเมินตนเอง :ตั้งใจเรียน ทำอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน  :เพื่อนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมดีกันทุกคน ตั้งใจเรียนและช่วยกันตอบ

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์ให้คำแนะนำเป็นอย่างดีค่ะ จะนำคำแนะนำจากอาจารย์ไปปรับแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
Learning log 12
Monday 25 November 2019

   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอนในแผนการเสริมประสบการณ์แต่ละหน่วยที่ได้เลือกกันไว้ โดยการสอนจะมีคำแนะนำจากอาจารย์อยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้เราได้สอนถูกและสอนเก่งและเป็นเพืออนาคตที่จะไปใช้ในสถานที่ฝึกสอน 




กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย เล่านิทาน สาธิต ทดลอง ศึกษานอกสถานที่ เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ประกอบอาหาร เชิญวิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ฯลฯ
        กระบวนการให้สมองเรียนรู้ที่จะให้ความหมายสิ่งที่เห็น สิ่งที่เผชิญ ตีความ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ที่รับรู้มา เป็นการพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากการรับรู้ของสมองจำนวนมาก ถ้าไม่มีข้อมูลในความทรงจำ ก็ไม่สามารถคิดอะไรออกมาได้ ดังนั้นกระบวนการพัฒนาการคิดของของเด็กจึงต้องมุ่งเน้นให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สิ่งที่ก่อรูปในการคิดของเด็กเริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง ประสบการณ์ของเด็กผ่านการสัมผัส การชิม การดมกลิ่น การได้ยิน และการเห็น จึงเป็นพื้นฐานของการสร้างความหมายให้แก่สิ่งต่างๆ ครูจึงควรออกแบบกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำซึ่งจะทำให้เด็กมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รวมทั้งจัดให้เด็กมีประสบการณ์ในสถานการณ์จำลองทุกอย่างที่เป็นไปได้ เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับ เด็กจะได้เคยชินกับการใช้ความคิด และคิดเป็นในที่สุด

การออกแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
        การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้าน บรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรนั้น ครูจำเป็นต้องวางแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้อย่างเหมาะสม และบรรลุผลตามจุดหมายที่กำหนด การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์กับเด็กปฐมวัยอย่างเต็มที่ ครูจะต้องสามารถตอบคำถามพื้นฐานต่อไปนี้
1. วางแผนการจัดประสบการณ์สำหรับใคร ครูต้องรู้จักเด็กที่ตนเองรับผิดชอบ รู้พัฒนาการตามวัย ความสนใจ ความถนัด ความสามารถ รวมทั้งรู้ว่าควรปรับปรุงและพัฒนาเด็กคนใดในเรื่องใดบ้าง
2. ต้องการให้เด็กเรียนรู้อะไร ครูต้องรู้จุดหมายของการจัดประสบการณ์ ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้ หรือประสบการณ์สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป
3. เด็กจะเรียนรู้เรื่องที่ต้องการให้เรียนรู้ได้ดีที่สุดได้อย่างไร ครูต้องรู้จักคิดหาวิธีสอน และสื่อเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
4. รู้ได้อย่างไรว่าเด็กเกิดการเรียนรู้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ครูต้องรู้วิธีประเมินผล สร้างและใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเสริมประสบการณ์
1.ส่งเสริมการใช้ภาษาในการฟัง พูด และการถ่ายทอดเรื่องราว
2.กล้าแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.ฝึกมารยาทในการฟัง พูด
4.รู้จักแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง
5.ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะพื้นฐาน
6.ปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรม
7.รู้จักปรับตัวในการเล่น และทำงานร่วมกับผู้อื่น

การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
1.การสนทนา  อภิปราย เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาในการพูด การฟัง รู้จักแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งสื่อที่ใช้อาจเป็นของจริง ของจำลอง รูปภาพ สถานการณ์จำลอง ฯลฯ
2.การเล่านิทาน เป็นการเล่าเรื่องต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เน้นการปลูกฝังให้เกิดคุณธรรม จริยธรรม วิธีการนี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้น ในการเล่านิทานสื่อที่ใช้อาจเป็นรูปภาพ หนังสือนิทาน หุ่น การแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง
3.การสาธิต  เป็นการจัดกิจจกรรมที่ต้องการให้เด็กได้สสังเกและเรียนรู้ตามขั้นตอนของกิจกรรมนั้น ๆ ในบางครั้งครูอาจให้เด็กอาสาสมัครเป็นผู้สาธิตร่วมกับครู เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง เช่น การเพาะเมล็ด การเป่าลูกโป่ง การเล่นเกมการศึกษา
4.การทดลอง/ปฏิบัติการ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เพราะได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง ฝึกการสังเกต การคิดแก้ปัญหา และส่งเสริมให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น และค้นพบด้วยตนเอง เช่น การประกอบอาหาร การทดลองวิทยาศาสตร์ง่าย ๆ การเลี้ยงหนอนผีเสื้อ การปลูกพืช ฯลฯ
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงอีกรูปแบบหนึ่ง ด้วยการพาเด็กไปทัศนศึกษาสื่อต่าง ๆ รอบโรงเรียน หรือสถานที่นอกโรงเรียนเพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์แก่เด็ก
6.การเล่นบทบาทสมมติเป็นการให้เด็กเล่นสมมติตนเองเป็นตัวละครต่าง ๆ ตามเนื้อเรื่องในนิทาน หรือเรื่องราวต่าง ๆ อาจใช้สื่อประกอบการเล่นสมมติเพื่อเร้าความสนใจ และก่อให้เกิดความสนุกสนาน เช่น หุ่นสวมศีรษะ รูปคน และสัตว์รูปแบบต่าง ๆ เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ของจริงชนิดต่าง ๆ
7.การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง เป็นการจัดให้เด็กได้แสดงออก เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและจังหวะ

ประเมินตนเอง    :เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนสอน ร่วมกิจกรรมของเพื่อน

ประเมินเพื่อน     :เพื่อนตั้งใจทำสิ่งที่ออกมาสอน

ประเมินอาจารย์  :ให้คำแนะนำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นอย่างดี ลงรายละเอียดแต่ละกิจกรรมให้เพื่อแก้ไขในการสอนในครั้งต่อไป

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning log 11
Monday 18 November 2019


1.กิจกรรมวงกลม
   อาจารย์เริ่มจากให้นักศึกษาทุกคนจับคู่ของตนเองและให้เพื่อนของคู่ตนเองเป็นผู้นำท่าต่างๆ จากนั้นอาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาจับกลุ่ม 10 คน ใน 10 คนให้ 1 คนออกมาเป็นผู้นำและให้เพื่อนเกาะเป็นงูไปเรื่อยๆ เป็นเหมือนกิจกรรมที่มีผู้นำผู้ตาม คนนึงนำและอีกคนก็ตามไปตามจังหวะเพลงที่อาจารย์ได้เปิด

2.ทักษะ EF 
   ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน
Executive Functions (EF) ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่
1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)
2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ – ไม่ควรทำ
3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์
4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่เด็กมีสมาธิ ไม่วอกแวก
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่าย
6.การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)  เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเอง
7.การประเมินตนเอง (Self-Monitoring) 
8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) เป็นการฝึกให้เด็กกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆ
9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) ช่วยให้เด็กไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่ายๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จ

ประเมินตนเอง :ตั้งใจเรียน สนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้ร่วม 

ประเมินเพื่อน :เพื่อนสนุกกับสิ่งที่อาจารย์ให้ทำ 

ประเมินอาจารย์ :ชอบที่อาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้ทำระหว่างคาบเรียน ทำให้เราสนุกไปกับอาจารย์ด้วยค่ะ
Learning log 10
Monday 11 November 2019 

    วันนี้ทางสาขาการศึกษาปฐมวัยได้มีการขนของเพื่อที่จะให้นักศึกษาไปเรียนที่ตึกใหม่ นักศึกษาได้มาช่วยอาจารย์จัดสภาพแวดล้อมเลือกของที่สามารถนำไปใช้ได้ต่อ และจัดสภาพแวดล้อมให้สะอาด

ประเมินตนเอง   :ได้ช่วยเหลือเพื่อนอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน     :เพื่อนให้ความร่วมมือในการเก็บของกันเป็นอย่างดี ขนของกันอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์  :อาจารย์ได้ให้สื่อเพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไปค่ะ
Learning lag 9
Monday 28 October 2019

     วันนี้ได้เข้าร่วมกับกิจกรรมที่อาจารย์ได้จัดขึ้นมาให้ความรู้แก่นักศึกษาทุกคนโดยมีวิทยากรอาจารย์ที่เคยเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ให้ความรู้ในเรื่อง สารนิทัศน์ สำหรับเด็กปฐมวัย 
เริ่มแรกก่อนที่จะฟังคำบรรยายและทำความรู้จักของเนื้อหาอาจารย์ท่านได้เริ่มให้พวกเราเต้น T25 เพื่อกระตุ้นให้เราสนุกและตื่นในช่วงเช้าค่ะ ทำให้นักศึกษาสนุกและสร้างความคุ้นเคยเป็นกันเองกับอาจารย์

1.ความหมายของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
    บุษบง ตันติวงศ์ ให้ความหมายสารนิทัศน์ว่า การจัดระบบหลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กและการสอนของครูตามหลักการประเมินตามสภาพจริงและหลักการสอนแบบโครงการ
    พัชรี    ผลโยธิน  ให้ความหมายสารนิทัศน์ว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นหรือจัดทำข้อมูลที่จะเป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการทำกิจกรรมขอองเด็กทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม
     สรุป สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ข้อมูลที่เป็นหลักฐานอาจเป็นคำพูด การกระทำ ผลงานของเด็ก หรือการสะท้อนตนเองของเด็กและผู้เกี่ยวข้อง สะท้อนความคิดของเด็ก รวมถึงการจัดทำหลักฐานแสดงให้เห็นการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

2.ความสำคัญของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
สารนิทัศน์มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อกับเด็กปฐมวัยหลายประการ ดังต่อไปนี้
    1.ช่วยให้ค้นพบและเห็นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด้กปฐมวัยอย่างชัดเจนทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
    2.ช่วยสร้างเสริมการเรียนรู้ครู ทำให้ครูเข้าใจพัฒนาการเรียนรู้ที่มีความหมายและเป็นรูปธรรมของเด็กปฐมวัย เห็นกระบวนการเรียนรู้ขอตนเอง
    3.ช่วยให้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการพิจารณาสร้างเสริมพฤติกรรมและการเรียนรู้สำหรับเด้กปฐมวัยทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
    4.ช่วยเชื่อมโยงหลักการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตระหนักถึงสิ่งที่ตนเองปฏิบัติ เข้าใจตนเองและมีทิศทางในอนาคต
    5.ช่วยทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยกำหนดเป้าหมายบทบาทในการพัฒนาและการประเมินตนเองตามบริบทที่เป็นจริง
    6.ช่วยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้กับครอบครัว สถานศึกษา และชุมชนได้เห็นวิถีทางที่เด็กปฐมวัยเรียนรู้
    7.ช่วยพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาได้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง สนองความต้องการในการประกันคุณภาพและการปฏิรูปการพัฒนาวิชาชีพครู
      สรุป สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยสำคัญหลายประการ เช่น ช่วยให้เห็นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจนทุกด้าน ทำให้ครูเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ความหมายและรูปธรรมของเด็ก

3.ครูจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไร ?

  • เตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการเก็บ วางแผน การเลือกและการจัดการกับวัสดุสื่อที่เหมาะสม
  • ศึกษาหลักสูตรเป้าหมายการพัฒนาเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าควรเก็บข้อมูลประเภทใด ลักษณะใดจึงจะทำให้เห็นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
  • วางแผนการจัดทำ เลือกวิธีเก็บข้อมูล เช่น บันทึกสั้น ภาพถ่าย แบบสังเกต ภาพจากสไลค์แถบเสียง แถบบันทึก ภาพ
  • ตั้งเป้าหมายการจัดทำ เช่น การบันทึกพฤติกรรมเด็ก โดยใช้วิธีสังเกตและการใช้บันทึกเสียงสั้น
  • จัดแสดงข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก 
4.บทบาทครูในการพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัย

      ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัยโดยครูจะต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความคิดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ บทบาทของครูพอจะกล่าวได้ดังนี้
  • สร้างความเป็นกันเอง ความอบอุ่นเพื่อให้เด็กมีความมั่นใจที่จะพูด กล้าคิด กล้าทำ
  • เป็นผู้ฟังที่ดี และตั้งใจฟังคำถามของนักเรียน
  • เป็นผู้สนับสนุนให้ผู้เรียนค้นคว้าและแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
  • ให้โอกาสผู้เรียนคิดโดยใช้วิธีการอย่างหลากหลาย
  • ลดบทบาทในการเป็นผู้สอน ผู้บรรยาย ผู้บอก แต่ควรใช้วิธีการแนะหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนพบคำตอบด้วยตนเอง
  •  ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย เกิดปัญหาและอยากหาคำตอบ โดยตั้งคำถามอย่างหลากหลายให้คิด
  • ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีทักษะในการคิด
    ดังนั้นการที่จะให้เด็กได้มีการพัฒนาความคิดนั้นครูจำเป็นต้องจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมและต้องมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัย


ประเมินตนเอง   :เข้าตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย กล้าที่จะแสดงออกกับกิจกรรม

ประเมินเพื่อน     :เพื่อนให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมดีมาก มีส่วนร่วมทุกๆกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์แนะนำให้ตั้งใจฟังจะได้ความรู้เยอะตามที่อาจารย์แนะนำค่ะ
Learning log 8
Monday 21 October 2019

  วันนี้อาจารย์สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ มีประสบการณ์สำคัญ สาระสำคัญ 

การเขียนประสบการณ์สำคัญ 
   จะช่วยอธิบายให้ผู้สอนเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยต้องทำอะไร เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว อย่างไรและทุกประสบการณ์มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ช่วยแนะผู้สอนในการสังเกต สนับสนุน และวางแผนการจัดกิจกรรมให้เด็ก ประสบการณ์สำคัญที่กำหนดไว้ในหลักสูตรมีความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ของเด็ก ตัวอย่างเช่น เด็กเข้าใจความหมายของพื้นที่ ระยะ ผ่านประสบการณ์สำคัญการบรรจุและเทออก ดังนั้นผู้สอนจึงวางแผนจัดกิจกรรมให้เด็กเล่นบรรจุทราย/น้ำลงในภาชนะหรือถ่ายเททราย/น้ำออกจากภาชนะต่างๆ ขณะเล่นทราย เล่นน้ำ เด็กจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญซ้ำแล้วซ้ำอีก มีการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ ผู้ใหญ่ และเด็กอื่น ฯลฯ ผู้สอนที่เข้าใจและเห็นความสำคัญจะยึดประสบการณ์สำคัญเป็นเสมือนเครื่องมือสำหรับการสังเกตพัฒนาการเด็ก  แปลการกระทำของเด็ก ช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสื่อ และช่วยวางแผนกิจกรรมในแต่ละวัน

สาระสำคัญ
   สาระสำคัญควรเขียนให้เป็นหลักการในภาพกว้าง (principle)  สาระสำคัญคือประเด็นความคิดหรือ
มโนทัศน์หลัก (Key concept) ของสิ่งที่เรียน ซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นหลักการ ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่าง ๆ  โดยที่ไม่ได้เป็นการระบุรายละเอียดปลีกย่อยลงไป ตัวอย่างเช่น การเขียนสาระสำคัญในการสอนเรื่อง เป็นต้น 


 ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำขาตั้งหนังสือโดยมีพานไว้รองหนังสือใช้หนังสือพิมพ์ 5 หน้ามาพับรวมกันให้วางขาตั้งหนังสือให้ได้ กลุ่มดิฉันก็พยายามจนสุดความสามารถและหลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้หลอดและลูกปิงปองเพื่อต่อให้ลูกปิงปองกลิ้งบนหลอดนั้นได้ เหมือนกับเอาหลายวิชามาบูรณาการกัน

ประเมินตนเอง :เข้าเรียนตรงต่อเวลา ต้งใจเรียน และำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

ประเมินเพื่อน :เพื่อนสนุกกับทุกกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำและให้ความร่วมมือดีมากค่ะ

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์ได้อธิบายขณะที่นักศึกษาทำกิจกรรมสำเร็จ ในแต่ละกิจกรรมสื่อถึงอะไร


Learning log  7
Monday 23 September 2019

1.การจัดการเรียนรู้แบบทักษะ EF ( Executive Function ) 
     EF คืออะไร ?     
EF ( Executive Function ) เกี่ยวข้องกับพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างไร เราจะ มีวิธีส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ได้อย่างไร เรามาเรียนรู้พร้อมกันนะคะ EF = ( Executive Function ) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต "ฟังดูน่าสนใั้จมาก"โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา(cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ( goal - directed behavior) สรุปคือ เป็นความสามารถในการควบคุมความคิของตนเองนั่นเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ และการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน

EF ( Executive Function ) ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน 
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ 
2.ทักษะกรยังยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือ ความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยังยั่งชั่งใจจะเหมือนรถที่ขาดเบรกอาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการคิดยืดหยุ่น (Shift Cognitive Flexibility ) คือ ความสามารถในการยดหยุ่นหรือปรับเลี่ยนไม่เหมาะสมกับสถานการณ์เกิดขึ้นด้
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่หมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตนเอง ไม่ได้เป็นคนโกรธ ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self Monitoring) คือ การสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามความคิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือ ทักษะการทำงานตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม 
9การมุ่งเป้าหมาย(Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้วก็มีความมุ่งมั่น 

2.การจัดการเรียนการสอนแบบ มอนเตสซอรี่ 



การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

การสอนแบบมอนเตสซอรี่

เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน

แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน


หลักการสอนของมอนเตสซอรี่


เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยใช้จิตซึมซับกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความสนใจความต้องการของเด็กในการเรียนรู้ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ โดยจะจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง สิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการที่เด็กได้สัมผัสกับงานที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน และการเรียนแบบมอนเตสซอรี่นั้นต้องจัดพื้นที่ว่างสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพื่อที่เด็กจะได้นั่งทำงานทั้งบนเก้าอี้และบนพื้น เพราะเด็กจะได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการจัดเก็บหรือวางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่แต่ละชิ้นจะเน้นอยู่ที่การรับรู้โครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ โดยผ่านประสาทสัมผัสของการเคลื่อนไหว และในการจะใช้อุปกรณ์แต่ละชนิด คุณครูจะต้องเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทำกิจกรรมกับอุปกรณ์นั้น ๆ อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีลำดับความยาก-ง่ายต่อเนื่องกันไป 
หลักการที่สำคัญที่สุดของการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) สำหรับเด็กปฐมวัย คือ คุณครูต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็ก ปลูกฝังให้เด็กเจริญเติบโตตามความต้องการตามธรรมชาติ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างอิสระ การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตัวเองและซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ เด็กจะได้รับอิสระในขอบเขตที่ได้จัดเตรียมไว้ เมื่อเด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการ จะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมสุดท้ายได้ร่วมกับเพื่อนทำกิจกรรม Cooking ในหน่วยการเรียนรู้ของ ไข่ โดยกลุ่มทำเป็นขนมปังซุปไข่ราดซอสช๊ิกโกแลตแสนอร่อย 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ต้งใจทำกิจกรรมของตัวเองอย่างเต็มที่ และที่สำคัญได้อยู่เข้าร่วมกิจกรรม cooking ด้วย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือแต่ลละกิจกรรมเป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ :ชอบที่อาจารย์ให้คำแนะนำแะอธิบายแต่ละกิจกรรมเพื่อให้เรานำไปปรับปรุงแก้ไขในอนาคตต่อไป